แกงแคเป็นแกงที่ประกอบด้วยผักหลายชนิดและมีเนื้อสัตว์เป็นส่วนผสมด้วยหนึ่งอย่างเรียกชื่อแกงแคตามชนิดของเนื้อสัตว์ที่นำมาเป็นส่วนผสมนั้น เช่น แกงแคไก่ แกงแคกบ แกงแคจิ๊นงัว แกงแคปลาแห้ง ผักที่เป็นส่วนผสมหลัก ส่วนใหญ่ประกอบด้วย ผักตำลึง ผักชะอม ใบชะพลู ผักชีฝรั่ง มะเขือพวง เห็ดลมอ่อน ผักเผ็ดและดอกแค อาหารที่เหมาะสมในการปรับธาตุในร่างกาย
การรับประทานแกงแค ทำให้ได้รับโปรตีน วิตามิน เกลือแร่ จากผักและไก่ ผักพื้นบ้านแต่ละชนิดที่นำมาปรุงมีคุณค่าทางยาสมุนไพรแตกต่างกัน ผักที่นำมาปรุงแกงแคมีทังผักรสเย็น รสเผ็ด รสร้อน รสมัน แกงแคจึงเป็นอาหารที่เหมาะสมในการปรับธาตุในร่างกายให้สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้ คนโบราณจึงนิยมกินแกงแค ในช่วงรอยต่อของฤดูกาล ส่วนผสม เนื้อไก่บ้าน น้ำมันพืช กระเทียม ดอกงิ้วแห้ง มะเขือเปราะ มะเขือพวง เห็ดลมอ่อน ถั่วพู
ถั่วฝักยาว ผักใบชนิดต่างๆ ได้แก่ ตำลึง ชะอม ใบชะพลู ผักขี้หูด ผักเผ็ด (ผักคราด) ดอกข่า ใบมะกรูด ผักชีฝรั่ง ส่วนผสมเครื่องแกง พริกขี้หนูแห้ง กระเทียม หอมแดง ข่าหั่น ตะไคร้ซอย กะปิ ปลาร้าต้มสุก เกลือ วิธีการทำ 1. โขลกเครื่องแกงรวมกันให้ละเอียด 2. สับไก่เป็นชิ้นพอคำ, เด็ดหรือหั่นผักทุกชนิด ล้างให้สะอาด พักไว้ 3. ใส่น้ำมันลงกระทะ เจียวกระเทียมที่สับแล้วพอเหลือง ใส่เครื่องแกงลงผัดให้หอม 4. ใส่ไก่ ผัดไก่ให้สุก เติมน้ำพอท่วมไก่ ตั้งต่อให้เดือด 5. ใส่ผักสุกยาก ตามด้วยผักที่สุกง่าย คนให้เข้ากัน พอผักสุก ยกลง อาจเพิ่มเครื่องเทศ เช่น เม็ดผักชี มะแขว่น ใบขิง หน่อข่าเพื่อเพิ่มกลิ่นหอม สามารถเติมผักอื่นๆ ที่มีรสจืด,ขม เช่น หน่อไม้ต้ม ยอดมะพร้าว จักค่านแห้ง ดอกแคขาว ดอกแคแดง